วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

4 กิจกรรมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา

4 กิจกรรมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2
………………………………..
1.กิจกรรมปลูกฝังหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.กิจกรรมอธิบายความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามคำ ข้อความ    ที่กำหนด หรือคำ ข้อความที่คิดขึ้นหลังจากการสกัดความรู้หรือตกผลึกทางความคิดแล้ว
3.กิจกรรมนำเสนอความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิธีการที่หลากหลาย 
    เช่น บทความ เรียงความ บทกลอน  นิทาน  โครงงาน โครงการ  การแสดงบทบาทต่างๆ วาดภาพ   
    ถ่ายภาพ เล่าเรื่องจากภาพ การบ้าน รายงาน จัดบอร์ด จัดนิทรรศการ ฐานเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
4.กิจกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามบทบาท อำนาจหน้าที่ หรือตามเรื่องที่
   ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เช่น บทบาทผู้บริหาร  ผู้สอน  ผู้เรียน  ผู้สนับสนุนอื่นๆ
                                  ......................................................................................

ตัวชี้วัดความสำเร็จของ 4 กิจกรรมหลัก
1.กิจกรรมปลูกฝังมีความเป็นรูปธรรม สัมผัสได้ 
2.กิจกรรมอธิบายขยายความ ตามคำหรือข้อความที่กำหนดให้ชัดเจน ตรงประเด็น สอดคล้อง สัมพันธ์กัน
3.กิจกรรมนำเสนอ มีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบและวิธีการ
4.กิจกรรมประยุกต์ใช้ เหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิต หรือเรื่องที่กำหนด

                            หลักการอธิบาย 3 ห่วง  2 เงื่อนไข 4 มิติ
1.อธิบายในลักษณะเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยตรง
2.อธิบายในลักษณะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเห็นความสำคัญของเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรส่วนใหญ่จะเป็นแนวคำถาม ใคร ทำอะไร  กับใคร ที่ไหน  เมื่อไหร  อย่างไร แบ่งให้ได้ แยกให้เป็น ว่าคำถามใดเป็นเหตุผล  เป็นพอประมาณ  เป็นภูมิคุ้มกัน

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลักษณะกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ดำเนินการในสถานศึกษา แบ่งเป็น 4 รูปแบบ

ลักษณะกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ดำเนินการในสถานศึกษา แบ่งเป็น 4 รูปแบบ
          1.รูปแบบกิจกรรมในเชิงพื้นที่
          2.รูปแบบกิจกรรมในเชิงผลผลิต/ผลิตภัณฑ์
          3.รูปแบบกิจกรรมในเชิงเอกสาร/วิชาการ
          4.รูปแบบกิจกรรมในเชิงพฤติกรรม

สถานะขององค์ความรู้ที่นิยมใช้อธิบายความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สถานะขององค์ความรู้ที่นิยมใช้อธิบายความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     1.อธิบายในสถานะที่เป็น  ระบบเศรษฐกิจ
     2.อธิบายในสถานะที่เป็น  วัฒนธรรมทวนกระแส
     3.อธิบายในสถานะที่เป็น  ทฤษฎีในการประกอบอาชีพ
     4.อธิบายในสถานะที่เป็น  หลักในการดำเนินชีวิต
     5.อธิบายในสถานะที่เป็น  เอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทย
     6.อธิบายในสถานะที่เป็น  สหวิทยาการเป็นศาสตร์แบบบูรณาการ
....................................................

การตรวจเอกสารที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การตรวจเอกสารที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.เอกสารที่ผู้บริหารต้องตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น แผนกลยุทธ  แผนปฏิบัติการประจำปี  โครงการ  หลักสูตรสถานศึกษา  การนิเทศภายใน  ฯลฯ
1.1 วิเคราะห์ว่าเอกสารเหล่านี้ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
1.2 การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างจากการบริหารจัดการตามปกติทั่วไปอย่างไร 
2.เอกสารที่ครูผู้สอนต้องตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น แผนการสอน   หน่วยการเรียนรู้    ใบงาน  บันทึกการสอน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  คุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง เอกสารประจำชั้นต่างๆ ฯลฯ
2.1 วิเคราะห์ว่าเอกสารเหล่านี้ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
2.2 การเรียนการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างจากการเรียนการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติทั่วไปอย่างไร 
3.เอกสารที่ผู้เรียนต้องตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ใบงาน   ชิ้นงานการบ้าน   รายงาน   ผลงานต่างๆเป็นต้นว่าโครงงาน  การร่วมกิจกรรม ฯลฯ
3.1 วิเคราะห์ว่าเอกสารเหล่านี้ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
3.2 การเรียนการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างจากการเรียนการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติทั่วไปอย่างไร 
         
………………………………………………………………………………………


วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การตรวจฐานเรียนรู้ที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การตรวจฐานเรียนรู้ที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.  แนวคิดการจัดตั้งฐานเรียนรู้มาจากไหน
          1.1  ควรพิจารณาตั้งฐานเรียนรู้  จากความสำเร็จของโรงเรียน  เช่น  ได้รับรางวัลอะไรมา  และต้องการ
      นำความสำเร็จนั้นให้เกิดความยั่งยืน  ขยายผลสู้ชุมชนและผู้สนใจ
          1.2  ควรพิจารณาตั้งฐานเรียนรู้จากความสำเร็จของชุมชน  เพื่อให้โรงเรียนได้ร่วมชื่นชม  สืบทอดสิ่งดีงามของชุมชน
      ปลูกฝังสิ่งเหล่านั้นตั้งแต่เล็ก  จะได้ภาคภูมิใจในชุมชนของตนเอง
1.3  ควรพิจารณาตั้งฐานเรียนรู้จากงานปกติของโรงเรียน  เลือกกิจกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในโรงเรียน
      ได้ก่อนแล้วค่อยขยายผลสู่ชุมชนและผู้สนใจทั่วไป
1.4  ควรพิจารณาตั้งฐานเรียนรู้  เพราะมั่นใจในวิสัยทัศน์ขอองผู้บริหารและทีมงานของโรงเรียนว่าส่งผลกระเทือน
      ต่อโรงเรียนและชุมชนได้แน่นอนและฐานเรียนรู้นี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อโรงเรียนและชุมชน
      ทั้งในแง่ชื่อเสียงและผลประโยชน์ด้านต่างๆ  ที่โรงเรียนและชุมชนจะได้รับ
2.  ตอบโจทย์การตั้งฐานเรียนรู้ได้หรือไม่ว่า
          2.1  แต่ละฐานเรียนรู้เป็นเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
          2.2  ถ้าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วตอบได้หรือไม่ว่า
                   -  เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานอย่างไรหรือ
                   -  เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้าอย่างไร
          2.3  นิยาม / ข้อคิด  ของฐานเรียนรู้ต่างๆ  ควรเป็นอย่างไร
          2.4  นิยาม / ข้อคิด / คำคม  ที่ได้จากผู้เยี่ยมชมฐานต่างๆ  ได้บันทึกไว้หรือไม่
          2.5  แต่ละขั้นจะได้ความรู้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรในฐานเรียนรู้เดียวกัน

กิจกรรมปลูกฝังความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำสำคัญที่ใช้อธิบายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมปลูกฝังความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำสำคัญที่ใช้อธิบายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อกิจกกรม  ถอดความพอเพียงด้วยนิยามและตัวชี้วัด  ประกอบด้วยคำต่อไปนี้


คำสำคัญที่ต้องฝึกนิยามและสร้างตัวชี้วัดจากมุมมองต่างๆ
ข้อพิจารณาในการนิยาม
1พอประมาณ
2.  มีเหตุผล
3.  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
4.  เงื่อนไขความรู้
5.  เงื่อนไขคุณธรรม
6.  มิติด้านเศรษฐกิจ
7.  มิติสังคม
8.  มิติสิ่งแวดล้อม
9.  มิติวัฒนธรรม
10.  ทางสายกลาง/มัชฌิมาปฏิปทา
11.  สมดุล
12.  มั่นคง
13.  ยั่งยืน
14.  พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
15.  รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง
16.  คุณธรรมทั้ง  9  ประการ
17.  รู้   รัก  สามัคคี
18.  เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา
19.  ยิ่งให้  ยิ่งได้
20.  ขาดทุน  คือกำไร
21.  ทฤษฎีใหม่
22.  เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน
23.  เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า
24.  เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพอ ขั้นเหลือ ขั้นขาย
25.  เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพอ  ขั้นเหลือ  ขั้นรวย
26.  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  ขยายโอกาส
27.  เศรษฐกิจพอเพียง  ขั้นพอกินพอใช้  ขั้นอยู่ดีกินดี  ขั้นมั่งมีศรีสุข
28.  เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพึ่งตนเอง  ขั้นพึ่งกันเอง  ขั้นรวมกลุ่มกัน
29.  เศรษฐกิจพอเพียงขั้นโลกียะ  ขั้นโลกุตตระ
30.  เศรษฐกิจพอเพียง  ขั้นพึ่งตนเอง  ขั้นให้เขาพึ่ง  ขั้นพึ่งพาอาศัยกัน
31.กิน  แจก   แลก  ขาย

1.  นิยามของแต่ละคำสำคัญ  สามารถจัดแบ่งเป็นกลุ่ม  เป็นประเภทได้หรือไม่
2.  ถ้าแบ่งได้  ลักษณะเฉพาะแต่ละแนวทาง  แต่ละกลุ่มควรเป็นอย่างไร
3.  เกณฑ์ตัวชี้วัดแต่ละแนวทางควรเป็นอย่างไร
4.  นิยามสั้น ๆ เข้าใจง่ายของแต่ละคำสำคัญ  ควรเป็นอย่างไร



วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมปลูกฝังหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมปลูกฝังหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อกิจกรรม ถอดความพอเพียง ด้วยรหัส  3:3:7 ” ประกอบด้วยคำสั่งต่อไปนี้
...............................................................................
คำสั่งที่ 1  พร้อม  3-2-1
ปรมมือ  3:3:7  ชูมือขึ้น 1 ครั้ง  พร้อมเปล่งเสียงออกมาดังๆว่า   พร้อม
คำสั่งที่ 2  หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ    3-2-1
 ปรมมือ  3:3:7  ชูมือขึ้น 4 ครั้ง  พร้อมเปล่งเสียงออกมาดังๆ
                ครั้งที่ 1    หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย  
                ครั้งที่ 2    3 ห่วง 
                ครั้งที่ 3    2 เงื่อนไข    
                ครั้งที่  4  4 มิติ       
คำสั่งที่ 3  3 ห่วง ประกอบด้วย พอประมาณ  มีเหตุผล   มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี     3-2-1
ปรมมือ  3:3:7  ชูมือขึ้น 4 ครั้ง  พร้อมเปล่งเสียงออกมาดังๆ
                ครั้งที่ 1    3 ห่วง ประกอบด้วย  
                ครั้งที่ 2   พอประมาณ 
                ครั้งที่ 3   มีเหตุผล    
                ครั้งที่ 4   มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี       
คำสั่งที่ 4  2 เงื่อนไข ประกอบด้วย เงื่อนไขความรู้  เงื่อนไขคุณธรรม     3-2-1
ปรมมือ  3:3:7  ชูมือขึ้น 3 ครั้ง  พร้อมเปล่งเสียงออกมาดังๆ
                ครั้งที่ 1    2 เงื่อนไข ประกอบด้วย  
                ครั้งที่ 2   เงื่อนไขความรู้ 
                ครั้งที่ 3   เงื่อนไขคุณธรรม    
คำสั่งที่ 5  4 มิติ ประกอบด้วย มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม  มิติวัฒนธรรม        3-2-1
 ปรมมือ  3:3:7  ชูมือขึ้น 5 ครั้ง  พร้อมเปล่งเสียงออกมาดังๆ
                  ครั้งที่ 1    4 มิติ ประกอบด้วย   
                  ครั้งที่ 2   มิติเศรษฐกิจ 
                  ครั้งที่ 3   มิติสังคม     
                  ครั้งที่ 4   มิติสิ่งแวดล้อม        
                  ครั้งที่ 5   มิติวัฒนธรรม    
    คำสั่งที่ 6  ขอบคุณ   3-2-1
 ปรมมือ  3:3:7  พนมมือขึ้น  พร้อมเปล่งเสียงออกมาดังๆว่า   ขอบคุณครับ/ค่ะ                           
หมายเหตุ  ขอให้ทุกโรงเรียน ใน สพป.สระแก้วเขต2  นำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มั่นใจว่าสำเร็จแน่นอน